วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ (PublicConsciousness)

             ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
             สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
..............สรุป จิตสาธารณะ หมายถึงจิตที่คิดสร้างสรรค์ เป็นกุศล และมุ่งทำกรรมดีที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม•คิดสร้างสรรค์ คือ คิดในทางที่ดี ไม่ทำลายบุคคล สังคม วัฒนธรรม ประเทศชาติและสิ่งแวดล้อม•กรรมดี คือ การกระทำ และคำพูดที่มาจากความคิดที่ดี

             จากความหมายของจิตสาธารณะที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้เกิดประเด็นความคิดว่าแล้วเราจะประยุกต์ การสร้างจิตสาธารณะให้กับสังคมได้อย่างไร และสร้างแล้วสังคมจะได้อะไร จะเป็นอะไร และสาเหตุใดจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องสร้างจิตสาธารณะให้เกิดขึ้น ต่อประเด็นต่างๆเหล่านี้ สิ่งแรกที่เราจะต้องพิจารณาก็คือ ตรวจดูว่าสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมไทย มีสภาพการเป็นอย่างไรบ้างจึงจะต้องนำเอาจิตสาธารณะมาเกี่ยวข้อง ประเด็นต่างๆที่ควรหยิบยกมาพิจารณาถึงสภาพของสังคมปัจจุบันจะมีที่สำคัญๆอยู่ 3-4 ประเด็นด้วยกัน คือ
          1. สังคมปัจจุบัน เป็นสังคมแห่งบริโภคนิยม ซึ่งเน้นถึงความสำคัญของวัตถุเป็นหลัก ให้ความสำคัญแก่มูลค่ามากกว่าคุณค่า มุ่งการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อนำมาดัดแปลงเป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกสบายให้แก่ตน เป็นสังคมที่ไหลไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ ของความเป็นวัตถุนิยมเป็นสังคมที่เชื่อในลัทธิเอาอย่าง และการแข่งขันเพื่อสร้างปริมาณมากกว่าคุณภาพเป็นสังคมที่วัดกันที่ความมั่งคั่งแห่งการมีผลผลิตทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่เหนือกว่ากัน
          2. ในด้านสุขภาพ เป็นสังคมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ทางการแพทย์ที่รุดหน้า ทำให้อัตราผู้สูงอายุมีจำนวนมากและในอนาคตจะเป็นชนกลุ่มใหญ่ของโลก ตัวอย่างในประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 2033 ประชากรผู้สูงอายุ 58 ปี ขึ้นไปจะเพิ่มขึ้น 23% เป็นต้น อย่างไรก็ตามถึงแม้การแพทย์จะเจริญก้าวหน้าแต่ก็ไม่สามารถจะรักษาโรคได้ทั้งหมด ทั้งโรคติดต่อ เช่น หวัดนก หวัด 2009 และโรคไม่ติดต่อเช่น มะเร็ง เป็นต้น จากข้อมูลอัตราการตายของประชากรโลก ในปี ค.ศ. 2009 มีอัตราการตาย 8.2 คนต่อ 1,000 คน ซึ่งอัตราการตายนอกจากจะเกิดจากโรคระบาดโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังเกิดจากภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ดินถล่ม น้ำท่วม ฯลฯ
          3. สภาพแวดล้อมของสังคมในปัจจุบัน เป็นปัญหาใหญ่ของโลก ที่สำคัญคือเกิดมลพิษของระบบนิเวศ อันเนื่องมาจากการทำลายและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทั้งที่ทดแทนได้เช่น ป่าไม้ หรือทดแทนไม่ได้ เช่น พลังงาน เป็นต้น ทำให้หลายพื้นที่ของโลกต้องประสบภัยแล้ง ไฟป่า ที่ทำให้ชีวิตและทรัพย์สินสูญหายไปเป็นจำนวนมาก
          4. สังคมปัจจุบันเป็นสังคมที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารด้านการคมนาคม ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทำให้โลกมีความใกล้ชิด และไปมาหาสู่กันสะดวก ติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา ด้วยอาศัยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่นำมาสร้าง/ประดิษฐ์ เป็นนวัตกรรมต่างๆ ที่อำนวยความสะดวก สบายให้กับการดำรงชีวิต แต่ก็ทำให้มนุษย์ต้องเร่งแรงกาย ในการเสาะแสวงหาวัตถุต่างๆเหล่านั้นมาบำรุงตน จนต้องยึดระบบเงินตราเป็นเครื่องวัดความเป็นอยู่ และไม่ว่าจะเป็นฐานะทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง




 

              สำหรับแนวทางและกลไกที่ใช้ในการสร้างจิตสาธารณะ อาจจะสรุปได้เป็น 3 กระบวนการดังนี้
          1. การสร้างความคิดเชิงบวก หมายถึงการสร้างตนให้คิดที่มุ่งประโยชน์ของผู้อื่นมากกว่ามุ่งประโยชน์ส่วนตน (Utilization VS individualization) ซึ่งปัจจัยที่จะก่อให้เกิดความถึงพร้อม (สัมนา) แห่งทิฏฐิ ในทางพุทธศาสนา
จะประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการคือ 
                    1.1 การเรียนรู้จากแหล่งอื่น (ปรโตโฆสะ = learning from others) ได้แก่ การรับฟังคำแนะนำสั่งสอนเล่าเรียน หาความรู้ สนทนาซักถาม ฟังคำบอกเล่าชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะการสดับสัทธรรมจากผู้เป็นกัลยาณมิตร 
                    1.2 การคิดโดยการใช้เหตุผล (โยนิโสมนสิการ = reasoned attention) ได้แก่ การใช้ความคิดถูกวิธี การรู้จักคิดโดยมองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา รู้จักสืบสาวหาเหตุผล แยกแยะออกให้เห็นตามสภาวะและความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย
          โดยสรุปความคิดเชิงบวก คือ ความคิดสร้างสรรค์เชื่อมโยงเหตุและผล ความคิดเชิงวิเคราะห์ แยกแยะที่สัมพันธ์สิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน
          2.  การยึดหลักธรรม/คุณธรรมความดี เป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิต โดยอาจจะคำนึงถึงกลไกและกระบวนการของหลักแห่งความดีงามดังนี้
                    2.1 หลักแห่งความพอเพียง ซึ่งจะเห็นได้จากการรู้จักจัดสรรทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความสุจริต โดยการแบ่งออกเป็น 4 ส่วน (โภคทรัพย์ 4) คือ แบ่ง 1 ส่วนไว้เลี้ยงตน แบ่งสองส่วนไว้ประกอบหน้าที่การงาน และแบ่ง 1 ส่วนสำหรับเก็บออม
                    2.2 หลักแห่งการสงเคราะห์ ได้แก่ การสงเคราะห์ด้วยการให้ที่แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ การให้สิ่งของ จะเป็นทรัพย์หรือวัสดุก็ได้ กับการให้ความรู้สั่งสอน (ธรรมทาน) การสงเคราะห์ที่เป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยเหตุผลที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความนิยมยินดี (ปิยวาจา) โดยสรุปก็คือ การสงเคราะห์ช่วยเหลือที่เป็นการให้ด้วยพฤติกรรม และการให้ด้วยวาจาที่อ่อนหวาน ก่อให้เกิดความซาบซึ้งใจของผู้ฟัง จึงเป็นการสงเคราะห์ที่จะต้องปฏิบัติด้วยความเมตตา คือ ความหวังดีโดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ 
                    2.3 หลักแห่งการประพฤติ การกระทำที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ ความช่วยเหลือที่มอบให้ผู้อื่นด้วยความเต็มใจในการประกอบกิจการงานต่างๆ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึง ช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรมแก่ผู้อื่น 
                    2.4 หลักแห่งการสงเคราะห์และทำคุณประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ โดยไม่มุ่งหวังเอาผลประโยชน์เข้าสู่ตนเอง เป็นการสร้างจิตสาธารณที่ช่วยเหลือ และทำตนเป็นประโยชน์ โดยการมีส่วนร่วมในกิจการต่างๆ ของส่วนรวม ด้วยการพิจารณาความเหมาะสมของกาลเทศะ และฐานะของตนเอง
                    2.5 หลักแห่งความเอื้ออาทร เพื่อสร้างจิตสาธารณะ ให้มีความเอื้อเฟื้อต่อบุคคลแวดล้อมและสิ่งแวดล้อม โดยการแสดงออกความเป็นกัลยาณมิตร ที่เป็นผู้ชี้ช่องทางประโยชน์ แนะนำให้ส่วนรวมดำเนินไปบนแนวทางประโยชน์ แนะนำให้ส่วนรวมดำเนินไปบนแนวทางของจริยธรรม เรียงลำดับความสำคัญของผู้รับความเอื้ออาทร ซึ่งอาจจะเป็น 
               1. เอื้ออาทรด้วยการบูชา บำรุงให้มีความสุข คือ การเอื้ออาทรต่อบิดามารดา
               2. เอื้ออาทรด้วยการประพฤติตนเป็นเจ้าบ้านปกป้องคุ้มครอง ดูแล คือ การเอื้ออาทรต่อบุตร ภรรยา และคนในปกครอง
               3. เอื้ออาทรด้วยการแสดงความเคารพคารวะ คือ การเอื้ออาทรโดยเคารพต่อผู้ทำหน้าที่สั่งสอน ชี้แนะประโยชน์ผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ

          3. การประกอบกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ในการแสดงออกถึงความมีจิตสาธารณะ เช่น การเข้าร่วมอาสาทำกิจกรรมของส่วนรวม ที่เป็นการสร้างสรรค์ เช่น ปลูกป่า รณรงค์การจับจ่ายใช้สอยอย่างประหยัด การรีไซเคิลของที่ใช้แล้ว การสร้างโลกสีเขียว การใช้จักรยานแทนยานพาหนะที่ใช้เชื้อเพลิง ฯลฯ








รอบพระอุโบสถ

กวาดลานจอดรถ

กวาดทางเดินตามวัด


              เรื่องมีอยู่ว่า....

          เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2556 พวกเรานักเรียนชั้นม.4 ห้อง 652 ได้ไปที่วัดปทุมวนาราม ตั้งแต่เวลา 6.45 น. และได้ไปติดต่อกับทางวัดว่าจะช่วยทำความสะอาดวัดในบางบริเวณ และ ทางวัดก็ไม่ได้ขัดข้องพวกเราจึงขอยืมอุปกรณ์ทำความสะอาดของทางวัดและช่วยทำความสะอาดบริเวณต่างๆของวัด เช่น ที่ลานจอดรถ รอบพระอุโบสถ ตามทางเดินที่รถผ่านในวัด และ ที่ในสวนของทางวัดซี่งขยะส่วนใหญ่เป็นพวกเศษใบไม้และขยะแห้งและมีบางอย่างที่เป็นขยะจากคนที่ทิ้งของไม่เป็นที่เป็นทาง ซึ่งพวกเราได้ช่วยกันเก็บกวาดให้สะอาด แต่พอกวาดขยะเสร็จแล้ววัดก็ดูสะอาดขึ้นและไม่ต้องเป็นที่เดือดร้อนของทางวัด จากนั้นก็ไปไหว้พระที่หน้าวัด

#ภาพการทำกิจกรรมจิตอาสา @วัดปทุมวนาราม @01.06.2013 เวลา 7.00-8.00 น.



      แหล่งอ้างอิง

http://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=44&img=&action=view


จัดทำโดย

 แสงทิพย์   โชคอำนวย   ม.4  ห้อง 652  เลขที่ 15
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา  รายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ